CBAM คืออะไร และแนวทางการดำเนินการตามมาตรการ CBAM ในอุตสาหกรรมเหล็ก

CBAM คืออะไร และทำไมอุตสาหกรรมเหล็กต้องให้ความสำคัญ?

CBAM คืออะไร และจะส่งผลอะไรต่ออุตสาหกรรมเหล็ก

CBAM คืออะไร ? CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) เป็นมาตรการปรับคาร์บอนตามพรมแดนของสหภาพยุโรป (EU) เพื่อป้องกันปัญหาการรั่วไหลของคาร์บอน ซึ่งมาตรการ CBAM ในช่วงระยะเปลี่ยนผ่านจะมีผลต่อสินค้านำเข้า 6 ประเภทคือ

    1. ซีเมนต์
    2. พลังงานไฟฟ้า
    3. ปุ๋ย
    4. ไฮโดรเจน
    5. เหล็กและเหล็กกล้า
    6. อะลูมิเนียม

ในขณะนี้มาตรการ CBAM ยังอยู่ในช่วง Transitional Phase จนถึงเดือนธันวาคมปี พ.ศ. 2568 ซึ่งกำหนดให้ผู้นำเข้าสินค้าจากประเทศนอกสหภาพยุโรปจะต้องรายงานค่าคาร์บอน หรือ Embedded Emission จากสินค้าที่นำเข้ามาในสหภาพยุโรป แต่ยังไม่ต้องชำระ ภาษีคาร์บอน หรือที่เรียกว่า CBAM Certificate เพื่อช่วยให้เตรียมความพร้อมรับมือกับมาตรการ CBAM ในขณะเดียวกันทางฝั่ง EU อาจจะมีการหารือเพื่อพิจารณาขยายกลุ่มสินค้าที่จะต้องอยู่ภายใต้มาตรการ CBAM เพิ่มเติม

โดยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2569 จนถึงปี พ.ศ. 2577 มาตรการ CBAM จะเข้าสู่ช่วง Post Transitional Phase ซึ่งจะบังคับให้ผู้นำเข้าสินค้าจากประเทศนอกสหภาพยุโรปจะต้องรายงานค่า Embedded Emission และซื้อ CBAM Certificate ตามปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสินค้าที่นำเข้ามา โดยราคาของ CBAM Certificate จะอ้างอิงกับราคาประมูลของระบบ EU ETS ซึ่งในตอนนี้ราคาเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 อยู่ที่ 74.53 ยูโรหรือประมาณ 2,600 บาทไทย

อุตสาหกรรมเหล็กเป็นหนึ่งในกลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรง

เนื่องจากกระบวนการผลิตแบบดั้งเดิม เช่น Blast Furnace และ Basic Oxygen Furnace ปล่อยก๊าซ CO₂ ในปริมาณสูง

ดังนั้น โรงงานเหล็กที่ต้องการส่งออกไปยังสหภาพยุโรป ต้องเตรียมตัวให้พร้อมในการเก็บข้อมูล และรายงานค่า Embedded Emission ให้กับลูกค้าที่อยู่ในสหภาพยุโรป รวมถึงเริ่มวางแผนในการดำเนินการลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันกับคู่แข่งในกลุ่มผลิตภัณฑ์เดียวกัน

เราพร้อมให้คำปรึกษาเรื่อง CBAM, การคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (CFP) และองค์กร (CFO) รวมถึงแนวทางการลดการปล่อยคาร์บอน เพื่อให้ธุรกิจของท่านสามารถปรับตัวและแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างยั่งยืน

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ CBAM, วิธีการคำนวณ หรือการดำเนินการจัดทำ Carbon Footprint
📌 โปรดติดต่อเรา เพื่อรับคำปรึกษาและแนวทางการดำเนินงานที่ถูกต้องตามมาตรฐานสากล

รับคำปรึกษา

2 replies

Trackbacks & Pingbacks

Leave a Reply

Want to join the discussion?
Feel free to contribute!

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *